Monday, November 9, 2009

Tolperisone ขนาด 50,และ150 mg

ตอนนี้มียาใหม่เข้ามา คือ Tolperisone (=mydocalm)ขนาด 150 mg ของเดิมที่มีอยู่คือ Tolperisone ขนาด 50 mg คุณสมบัติ เหมือนกัน คือเป็นยาคลายกล้ามเนื้อ ขนาดยาที่ใช้ คือ วันละ 300-450mg โดยให้แบ่งทานเป็น3-4 มื้อ
แต่ก่อนนึกว่ายากลุ่มนี้ ทานแล้วอาจง่วงนอน แต่มีการทดลองพบว่า ยากลุ่มนี้ไม่ทำให้ผู้ที่ทานยาเกิดอาการง่วงนอนแต่อย่างใด ไม่มี sedative effect เกิดขึ้น
สูตรโครงสร้างทางเคมีของ Tolperisone ไม่มีซัลฟาเป็นส่วนประกอบ

Thyroxine 50

ผู้ป่วยเด็กอายุประมาณ 1 ขวบ รักษาที่ศิริราช แพทย์สั่งยา Thyroxine 50 ทานครั้งละ 3/4 เม็ดวันละ 1 ครั้ง ผู้ปกครองนำใบสั่งยามาเบิกยาที่คลีนิค 30 บาท ซึ่งมีสิทธิ์บัตรทองอยู่ที่นี่
ยาที่คลินิกมีแต่ Thyroxine 100 mcg แต่ใบสั่งยาไม่ระบุว่าเป็น Thyroxine 50mg หรือว่าจะเป็น 50 mcg แต่เป็นเด็กเล็กมาก คาดว่าแพทย์น่าจะให้ 50 mcg
สุดท้าย แนะนำให้ไปซื้อยาที่ศิริราชเลยเพราะราคาไม่แพง

Sunday, November 8, 2009

AUGMENTIN 1gm tablet

คนไข้อายุประมาณ 70ปี เอายาaugmentin 1 gm มาคืนห้องยาบอกว่าทานไป 2 เม็ด แล้วเวียนหัว สงสัยแพ้ยา พอซักประวัติแล้วพบว่าคนไข้ไม่ทานข้าวเช้า ทานยาเลย ยา augmentin มียา 2 ตัวเป็นส่วนประกอบ คือ amoxy และ clavulanic acid ซึ่งมีอาการข้างเคียงคือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงได้ ก็เลยแนะนำว่าให้ลองทานยาหลังอาหาร เพื่อลดอาการข้างเคียงดังกล่าว ส่วนอาการเวียนหัว พอซักประวัติพบว่า แกนอนไม่ค่อยหลับ และตื่นแต่เช้าประมาณตีห้า จึงอาจทำให้เวียนหัวได้ ก็เลยแนะนำการพักผ่อนและออกกำลังกายไป
สุดท้ายแนะนำให้ทานยาต่ออีก แล้วดูว่าจะมีอาการอีกไม้

Thursday, November 5, 2009

ยาดีคอลเจน

วันนี้ คุณหมอท่านหนึ่งเดินมาถามว่า ดีคอลเจนห้ามใช้ในคนเป็นเบาหวานหรือ เพราะมีคนไข้มาบอกว่าเห็นที่ฉลากซองยาดีคอลเจนเขียนไว้อย่างนั้น

ปกติ ดีคอลเจนมีตัวยา 3 ตัว คือ พาราเซตตามอล คลอร์เฟนิรามีน  เฟนิลอีฟริน
ซึ่งยาทั้ง 3 ตัวนี้ ต้องระวังการใช้ในคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด อาจเป็นได้ที่ว่า คนเป็นเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคระบบหัวใจหลอดเลือดอยู่แล้วจึงให้ระวังการใช้ดีคอลเจนในคนเป็นโรคเบาหวานด้วย

ดีคอลเจน และ ทิฟฟี่ มีข้อควรระวังการใช้ที่พิมพ์ไว้ที่ซองยา คือ
1.เนื่องจากยามีส่วนผสมของพาราเซตามอล (paracetamol) ซึ่งเพิ่มโอกาสในการเกิดพิษต่อตับ
ถ้าใช้ยานี้เกินขนาดที่ระบุไว้บนฉลากหรือเอกสารกำกับยา จะทำให้เป็นพิษต่อตับได้ และไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อกันเกิน 5 วัน (เนื่องจากผลของพาราเซตามอล) 
2. ยานี้ทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง (เนื่องจากผลของคลอร์เฟนิรามีน ที่ทำให้ง่วง)
3.ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ (เนื่องจากจะเพิ่มการทำลายตับมากขึ้น) 

และต้องระวังในคนที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้ คือ
- เป็นโรคหอบหืด ภูมิแพ้ หรือโรคริดสีดวงจมูก หรือผู้ที่เคยมีประวัติโรคดังกล่าว
- เป็นเบาหวาน ยาบรรเทาอาการคัดจมูกในยานี้(คือ เฟนิลอีฟริน) อาจทำให้ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้น (แต่ไม่ได้ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น)
- คนที่มีต่อมลูกหมากโต ปัสสาวะลำบาก อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ
- เป็นโรคต้อหิน ยานี้อาจมีผลทำให้ความดันภายในตาเพิ่มขึ้น
- เป็นตับอักเสบหรือปัญหาโรคตับอื่นๆ
- โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
- โรคไต (รุนแรง) ไตอาจได้รับผลกระทบโดยเฉพาะถ้ารับประทานยานี้เป็นระยะเวลานานเกินไป

คนที่มีโรคประจำตัวดังกล่าวข้างบน ก่อนทานยาอะไร ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกร



Tuesday, November 3, 2009

aspirin baby

เมื่อเร็ว ๆ นี้ อย.สั่งร้านยาให้ควบคุมยา baby aspirin ให้เป็นยาควบคุมพิเศษจ่ายได้เฉพาะใบสั่งแพทย์เท่านั้น เพราะยาตัวนี้ใช้ในโรคหัวใจ มีฤทธิ์ช่วยละลายลิ่มเลือด ป้องกันเส้นเลือดอุดตัน เพราะ ก่อนหน้านี้ มีงานวิจัยของฝรั่งบอกว่า ให้กินเป็นวิตามิน ป้องกันโรคมะเร็งได้ คนก็เลยไปซื้อมากินกันใหญ่ ซึ่งงานวิจัยของฝรั่งนี่ต้องมีการทดลองอีกหลายครั้ง ถึงจะรับรองว่าได้ผลจริง แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ ยาตัวนี้มีคุณสมบัติเป็นกรด อาจกัดกระเพาะ ทำให้ปวดแสบท้องได้ เป็นตัวยาเหมือนกับยาทันใจสมัยก่อน ที่คนใช้แรงงานซื้อกินกันจนกระเพาะทะลุมาแล้ว

Monday, November 2, 2009

วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า

ตอนนี้ที่คลีนิค 30 บาท มีวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า 2 ชนิด คือ PCEC (RABIUR)ขนาด 1 ml และ VERORAB (PVRV) ขนาด 0.5 ml บางทียาตัวแรกหมด ก็ใช้ยาตัวที่สองแทนได้ แต่ต้องฉีดวิธีเดียวกัน คือถ้าฉีด IM มาแล้ว ถ้าเปลี่ยนยาก็ต้องฉีด IM เหมือนกัน หรือถ้าฉีด ID มา ก็ต้องฉีด ID เหมือนกัน ส่วนระยะเวลาที่ฉีด ไม่แตกต่างกัน

การฉีดยามี 4 วิธี แต่ที่นิยมปัจจุบันที่ได้ผลในการเพิ่มภูมิคุ้มกัน มี 2 วิธี คือ

1.การฉีดเข้ากล้ามเนื้อแบบวิธีมาตรฐาน: ฉีดยา 1 หลอด(IM) ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหัวไหล่และบริเวณต้นขาในผู้ใหญ่และเด็ก ตามลำดับ ฉีดในวันที่ 0, 3, 7, 14 และวันที่ 28 หรือ 30

2.การฉีดเข้าในผิวหนังแบบสภากาชาดไทย 2-2-2-0-1-1: ฉีดเข้าในผิวหนัง(ID)โดยใช้ปริมาณ 0.1 มิลลิลิตร จำนวน 2 จุด ในวันที่ 0, 3 และ 7 และฉีด 1 จุด ในวันที่ 28หรือ 30 และวันที่ 90